- หน้าแรก
- ข้อมูล อบต.
- ยุทธศาสตร์/แผนงาน
- การบริหารทรัพยากรบุคคล
- ผลงานเด่น
- รายงาน
- ข่าว อบต.
- ภาพกิจกรรม
- ผลิตภัณฑ์ตำบล
- แหล่งท่องเที่ยว
- ปฏิทินกิจกรรม
- ร้องเรียนร้องทุกข์
- ร้องเรียนการทุจริต
- การป้องกันการทุจริต
- กระดานสนทนา
- Q&A (ถาม-ตอบ)
- กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
- คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
- คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
- ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการประชาชน
- ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริต
- รายงานอื่นๆ

-
องค์การบริหารส่วนตำบลระโนด จังหวัดสงขลา
ประวัติความเป็นมา
ตำบลระโนดเป็นตำบลเก่าแก่ตั้งมานานแล้ว ชื่อ ระโนด ตามคำบอกเล่ามาตั้งแต่โบราณ สันนิษฐานกันไว้ว่ามาจากการที่ชาวบ้านปลูกต้นตาลโตนดตามคันนามองเห็นเป็นราวจึงเรียกกันว่าบ้านราวโหนดต่อมาเพี้ยนเป็นบ้านระโนดประวัติความเป็นมาของ อบต.ระโนด
องค์การบริหารส่วนตำบลระโนด เริ่มจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ในวันที่ 19 มกราคม 2539 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2539 โดยประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 113 ตอนพิเศษ 52 ง ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2539 เป็น 1 ใน 11 องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ซึ่งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอระโนด 1 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดสงขลา (ตามเส้นทางสายสงขลา-ระโนด) ประมาณ 85 กิโลเมตรเนื้อที่และอาณาเขตของตำบล
มีเนื้อที่ทั้งสินประมาณ 32 ตารางกิโลเมตร หรือ 20,000 ไร่ มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับตำบลบ้านใหม่และตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ทิศใต้ ติดกับตำบลพังยาง อำเภอระโนด ตำบลโรง อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันออก ติดกับตำบลปากแตระ และตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ติดตะวันตก ติดกับทะเลสาบสงขลาลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่ขององค์การบริหารส่วนตำบลระโนด เป็นที่ราบลุ่ม สภาพเป็นดินเหนียวเหมาะแก่การทำนา เมื่อถึงฤดูฝน ในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมกราคม ทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างฉับพลันเกือบทุกพื้นที่ในหมู่บ้านของตำบลระโนด และอยู่ใกล้ทะเลทั้งสองด้าน ทิศตะวันออกใกล้อ่าวไทย ทิศตะวันตกติดทะเลสาบสงขลา เหมาะแก่การทำประมงและศูนย์สถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจลักษณะภูมิอากาศ
ตำบลระโนด ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของลงมรสุมเขตร้อน มีลมมรสุมพัดผ่านประจำทุกปี คือลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงกลางเดือนมกราคม และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม จากอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ส่งผลให้มี ฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือน กรกฎาคม ซึ่งจะเป็นช่วงที่ว่างของลมมรสุมโดยจะเริ่มตั้งแต่หลังจากหมดลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว อากาศจะเริ่มร้อนแบะอากาศจะมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน แต่อากาศจะไม่ร้อนมากนักเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ทะเล
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนมกราคม จะมีฝนตกทั้งในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีฝนตกชุกมากกว่า เนื่องจากพัดผ่านอ่าวไทยเขตการปกครอง
แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ชื่อผู้ใหญ่บ้าน 1 บ้านมหาการ นายสุชาติ ชูชื่น 2 บ้านเฉียงพง นายสุรินทร์ เวชประสิทธิ์ 3 บ้านกลาง นายอภิชัย ชูสุวรรณ 4 บ้านระโนด น.ส.ปิยะวรรณ สุขโข 5 บ้านโคกทอง นางสุนีย์ หนูคง 6 บ้านทอนสำโรง นายพงษ์ศักดิ์ เซ่งเข็ม 7 บ้านหัวถิน น.ส.มุกดาวัลย์ ขวัญเกื้อ (กำนันประจำตำบลระโนด) ข้อมูลด้านประชากร
ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลระโนด มีจำนวนทั้งสิ้น 5,343 เพศชาย 2,796 คน เพศหญิง 2,847 คน จำนวนครัวเรือน 2,212 ครัว จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 3,988 คน (ชาย 1,936 คน , หญิง 2,052 คน จำนวนความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ตำบลระโนด มีจำนวนเฉลี่ย 157.25 คน/ตารางกิโลเมตร
-
วิสัยทัศน์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลระโนดภายใต้คำว่า
" ระโนดเมืองน่าอยู่ เคียงคู่เกษตรกรรม สืบสานประเพณีวัฒนธรรม
ก้าวนำการศึกษา ภายใต้หลักการบูรณาการอย่างมีส่วนร่วม "พันธกิจหลักในการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลระโนด
- 1.จัดให้มีระบบโครงสร้างพื้นฐานอย่างครอบคลุมและทั่วถึง
2.ส่งเสริม และ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
3.สนับสนุนและส่งเสริมอาชีพหลักและอาชีพเสริมของประชาชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4.ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
5.อนุรักษ์ รักษา ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6.บริหารและพัฒนาด้วยหลักธรรมาภิบาลและสนับสนุนให้หน่วยงาน กลุ่ม องค์กรต่าง ๆ และประชาชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลระโนด
- 1.ให้มีระบบคมนาคมและไฟฟ้าแสงสว่างครอบคลุมเต็มพื้นที่
2. ให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้นเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
3.สนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา กีฬา อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดปัญหาสังคม
4.สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญา ท้องถิ่นให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน
5. ให้มีสวัสดิการสังคม และสังคมสงเคราะห์ เด็ก สตรี คนชรา คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
6. ให้หมู่บ้าน/ชุมชนมีความเข้มแข็งและมั่นคงปลอดภัย
7.ให้มีการจัดการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมที่ดี
8. เพิ่มขีดความสามารถด้านการเมือง การบริหารและการบริการของ อบต.
9. ประสานความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่แบบบูรณาการ
10. สร้างความพึงพอใจและความมั่นใจให้แก่ประชาชนผู้มารับบริการ - 1.จัดให้มีระบบโครงสร้างพื้นฐานอย่างครอบคลุมและทั่วถึง
